ประวัติวิทยาลัยการอาชีพท่าตูม

สถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสุรินทร์สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

เป็นวิทยาลัยการอาชีพระดับอำเภอ โดยกระทรวงศึกษาธิการ  เห็นสมควรให้ขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพให้กว้างขวางยิ่งขึ้น   สอดคล้องเพียงพอแก่ความต้องการของประชาชนในชนบทและความต้องการของตลาดแรงงานในท้องถิ่น รวมทั้งก้าวทันต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวมของประเทศ  จึงจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพท่าตูมขึ้น เพื่อจัดการศึกษา และฝึกอบรมวิชาชีพทุกระดับและประเภทวิชาที่ขาดแคลน อันเป็นการเสริมสร้างและพัฒนากำลังคนของประเทศไทยให้มีคุณภาพใน

การประกอบอาชีพและมีคุณภาพที่ดีขึ้น

                จากนโยบายของรัฐบาลดังกล่าว  วิทยาลัยการอาชีพท่าตูมได้รับการประกาศจัดตั้ง  โดย ฯพณฯ  ก่อ   สวัสดิพาณิชย์   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่  28  กุมภาพันธ์  2535    โดยมีท่าน      ผู้อำนวยการพิมาน  พอกเพิ่มดี 

เป็นผู้ประสานงานการจัดตั้งวิทยาลัยฯ

                ในปีงบประมาณ 2535 วิทยาลัยการอาชีพท่าตูมได้รับจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้าง อาคารเรียน อาคารสำนักงาน   โรงฝึกงานและบ้านพักครู  ฯลฯ เป็นเงิน  24  ล้านบาทเศษ

                ในระหว่างการก่อสร้างนั้น กรมอาชีวศึกษามีนโยบายให้วิทยาลัยการอาชีพท่าตูมเปิดสอนหลักสูตรระยะสั้นให้แก่ประชาชนทั่วไป    ซึ่งวิทยาลัยฯ  ได้เปิดสอนหลักสูตรระยะสั้นสาขาวิชาวิชาพิมพ์ดีดไทย  105  ชั่วโมง  ในวันที่ 1  มิถุนายน  2535  ในการดำเนินงานของวิทยาลัยการอาชีพท่าตูมได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากวิทยาลัยฯ พี่เลี้ยงหลาย ๆ แห่ง 

คือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์  วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์  วิทยาลัยสารพัดช่างสี่พระยา  และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

                ปีการศึกษา  2537 วิทยาลัยการอาชีพท่าตูม ได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.) 

4  สาขา วิชา  ดังนี้

1.       สาขาวิชาช่างยนต์                      

2.       สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง

3.       สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์

4.       สาขาวิชาการบัญชี

ปัจจุบัน  วิทยาลัยการอาชีพท่าตูม  เปิดทำการสอน 2 ระดับคือ

1.       ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

2.       ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

โดยมีหลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอนดังนี้

1.หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.) ..2546 ประกอบด้วย

                                                1.1  สาขาวิชาช่างยนต์                                        1.4  สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ

1.2  สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง                           1.5  สาขาวิชาการบัญชี

1.3  สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์                      1.6. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

                                                                                                1.7 สาขาวิชาช่างกลโรงงาน

2. หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ..2546 ประกอบด้วย

                                                2.1  สาขาวิชาช่างยนต์                                        2.4  สาขาวิชาการบัญชี

2.2   สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง                          2.5  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

2.3  สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์                     

3.       หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น

4.       หลักสูตรวิชาชีพหลากหลาย

หลักสูตรแกนวิชาชีพมัธยม